ภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) คืออะไร

ภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) คืออะไร

ภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) คืออะไร

ภาวะตาขี้เกียจคืออะไร ?

ภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) เป็นโรคที่เกิดขึ้นในระดับ Sensory หรือ สมองส่วนการรับรู้ภาพ ทำให้ความคมชัดของการมองเห็นหลังจากแก้ปัญหาสายตาแล้วนั้น ไม่สามารถทำให้คมชัดเหมือนคนปกติได้ เกิดจากตาข้างนั้นไม่ได้รับการกระตุ้นด้วยภาพที่ชัดในช่วงเวลาที่กำลังมีการพัฒนาของการมองเห็น  การพัฒนาการมองเห็น การพัฒนาของเส้นประสาทตาและสมองเกิดภายใน 2 ปีแรก

            โดยจุดรับภาพจะพัฒนาสมบูรณ์เมื่ออายุ 4 ปี ซึ่งการพัฒนาของการมองเห็นนั้นเกิดขึ้นในสมอง โดยภาพที่ชัดจากตาจะเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนานี้จะเกิดขึ้นได้เฉพาะในสมองของเด็กเท่านั้น การขัดขวางใดๆก็ตามในขบวนการนี้จะทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจคือไม่ว่าจะแก้สายตาให้ถูกต้องอย่างไร

     คนไข้ก็ยังไม่สามารถอ่าน VA 20/20 ได้  โดยมีเงื่อนไขว่าคนไข้ต้องไม่มีปัญหาเรื่องโรคตาอย่างอื่น เช่นมีแผลเป็นที่กระจกตาหรือมีต้อกระจก หรือเป็นโรคจอตาใดๆอยู่ ซึ่งภาวะตาขี้เกียจมักจะเกิดที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจเกิดทั้งสองตาก็ได้

     ส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดตั้งแต่เด็กและไม่ได้แก้ไขปัญหาก่อนอายุ 7 ปีแรก เพราะช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่มีการพัฒนาการการมองเห็นสูงสุด ส่งผลให้การรับภาพโดยสมองจากตาลดน้อยลง  จึงทำให้เกิดเป็นภาวะตาขี้เกียจตามมา

ภาวะตาขี้เกียจมีกี่ชนิดและสาเหตุเกิดมาจากอะไรบ้าง  ?

  1. Strabismic amblyopia หรือภาวะตาขี้เกียจที่เกิดจากตาเข เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งการมองเห็นมักจะแย่ในตาที่เขซึ่งฅ
    เกิดจากการที่เด็กต้องเลือกตาข้างใดข้างหนึ่งในการมองเห็นเพื่อกำจัดการเกิดภาพซ้อน ทำให้ตาข้างที่ไม่ถูกเลือกทำงานน้อยลงและมองไม่ชัดในที่สุด
  1. Refractive amblyopia สายตาที่ผิดปกติ (refractive errors) ส่งผลให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

2.1   Anisometropic amblyopia พบบ่อยเป็นสาเหตุอันดับสองในการเกิดภาวะตาขี้เกียจ โดยสายตาที่ผิดปกติไม่ว่าจะเป็นสั้น
ยาวหรือเอียงก็เป็นสาเหตุได้ทั้งหมดมักพบความผิดปกติที่ค่าสายตาต่างกันมากๆ ทำให้ตาข้างหนึ่งเห็นชัด ตาอีกข้างภาพที่ตกที่จอตาไม่ชัด
ภาพที่ส่งไปยังสมองส่วนการมองเห็นต่างกัน จึงเกิดภาวะตาขี้เกียจเกิดขึ้นในตาข้างที่ภาพตกที่จอตาไม่ชัด
เช่น ข้างขวาสั้น 50 แต่ข้างซ้ายสั้น 600 ทําให้ตาซ้ายมองเห็นไม่ชัดต่างจากข้างขวามาก
ดังนั้น การพัฒนาการก็ได้รับรับการกระตุ้นที่ข้างขวาข้างเดียวทําให้ตาซ้ายเกิดภาวะตาขี้เกียจตามมา

2.2    Isoametropic amblyopia ภาวะตาขี้เกียจที่เกิดจากสายตาผิดปกติมากทั้งสองข้างพอๆกันเกิดจากมีภาวะสายตาผิดปกติมาก
ของตาทั้งสองข้างเท่าๆกันไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เด็กทำให้ไม่มีภาพที่ชัดไปตกที่จอประสาทตาทั้งระยะใกล้และไกลมักพบ
ในสายตายาวที่มากกว่า 5D สายตาสั้นที่มากกว่า 10 D และสายตาเอียงที่มากกว่า 3 D

  1. Deprivation amblyopia ภาวะตาขี้เกียจที่เกิดจากการบดบังสายตา เกิดจากการมี media opacities ตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
    เช่น ต้อกระจกที่ขุ่นขาว (congenital หรือinfantile cataract) เลือดออกในช่องหลังลูกตา (vitreous  hemorrhage) หนังตาตก (ptosis)
    จนบังรูม่านตาทำให้ไม่มีภาพที่ชัดตกไปยังจอประสาทตาไม่มีการพัฒนาของสายตาเกิดขึ้นและมีภาวะตาขี้เกียจตามมา
    ภาวะตาขี้เกียจชนิดนี้พบได้ไม่บ่อยแต่เป็นรุนแรง รักษาให้กลับมากเป็นปกติได้ยากที่สุด

  2. การซักประวัติอาการนำที่มารักษา ประวัติทางตา โรคประจำตัวและพัฒนาการเด็ก ประวัติฝากครรภ์และประวัติคลอด
    ประวัติครอบครัว ประวัติอุบัติเหตุ
  3. ตรวจร่างกาย ตรวจระดับสายตา (VA)ตรวจตาอย่างละเอียดทั้งส่วนหน้าลูกตาและส่วนหลังลูกตาเพื่อหาสาเหตุอื่นของตามัว
    ตรวจค่าสายตา (refraction)เพื่อดูว่ามีสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงหรือไม่ ตรวจตาเขและการกลอกตาเพื่อดูว่าปกติหรือไม่
    เพราะนอกจากจะวินิจฉัยภาวะตาขี้เกียจแล้วยังต้องหาสาเหตุของภาวะตาขี้เกียจด้วย

การรักษาภาวะตาขี้เกียจ ?

  1. แก้ไขภาวะที่บดบังการมองเห็น เช่น การผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดหนังตกตกที่รุนแรงที่ทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ
  2. แก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ ในกรณีสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียงที่ทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ โดยการใส่แว่นหรือเลนส์สัมผัส (contact lens)
  3. กระตุ้นการมองเห็นในตาข้างที่เป็นภาวะตาขี้เกียจ จำกัดการใช้สายตาในตาข้างที่ดี

3.1 การปิดตา (patching) รักษาภาวะตาขี้เกียจโดยการปิดตาข้างที่ดี (occlusion  therapy)เพื่อกระตุ้นให้ใช้ตาข้างที่มีปัญหา 
ถ้าระดับการมองเห็นข้างที่มีปัญหาแย่กว่าหรือเท่ากับ20/100 ให้ปิดตาข้างที่ดีติดต่อกันอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
ถ้าระดับการมองเห็นดีกว่านั้นให้ปิดติดต่อกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง/วัน ปิดทุกวันไปจนกว่าระดับการมองเห็นทั้ง 2 ข้างเท่ากัน
จากนั้นลดการปิดให้เหลือวันละ 1 ชั่วโมง จนกระทั่งสายตามีการพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 8 ปี จึงหยุดการรักษา

            จากการศึกษาพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่รับการรักษาจนระดับการมองเห็นเท่ากันแล้วจะมีการกลับเป็นภาวะตาขี้เกียจ
ได้ใหม่จึงต้องนัดมาตรวจเป็นระยะทุก 4-6 เดือน ถ้าสามารถปิดตาได้ถูกต้องและเต็มที่เป็นเวลา 3-6 เดือน
แล้วสายตายังไม่ดีขึ้นแสดงว่าไม่ได้ผลการปิดตารักษาภาวะตาขี้เกียจนี้จะได้ผลดีถ้าเด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดด้วย

3.2 การทำให้ตาข้างที่ดีมัวลงจากยา (Pharmacological penalization) หยอดยา 1% atropine ในตาข้างที่ดี ทำให้ตาข้างดีไม่สามารถเพ่งเมื่อมองใกล้ได้
มองใกล้จึงไม่ชัดและมัวลงเมื่อเทียบกับตาข้างที่เป็นภาวะตาขี้เกียจ วิธีนี้สามารถรักษาภาวะตาขี้เกียจระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง (ภาวะตาขี้เกียจที่มี VA ดีกว่า 20/100)

3.3 การทำให้ตาข้างที่ดีมัวลงจากแว่น (Optical penalization) ใส่แว่นเลนส์นูนในตาข้างดี ทำให้ตาข้างดีมัวลงเมื่อมองผ่านแว่น หรือปิดแผ่นที่มีความขุ่นบนแว่น เช่น Bangerter filter

การติดตามการรักษา เพื่อประเมินผลการรักษาว่าตอบสนองการรักษาดีหรือไม่ หรือสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้องหรือไม่
ต้องปรับเปลี่ยนการรักษาเพิ่มเติมหรือไม่ และเฝ้าระวัง occlusion amblyopia เมื่อรักษาจนการมองเห็นดีขึ้นจนเป็นปกติจึงหยุดการรักษาได้
แต่บางกรณีระดับสายตาอาจดีขึ้นเพียงบางส่วนแม้ว่าปฏิบัติการรักษาอย่างถูกต้องแล้ว เมื่อระดับสายตาคงที่เป็นเวลา 3-6 เดือนให้หยุดการรักษาได้
การหยุดการรักษาอาจค่อยๆถอยการปิดตาโดยการลดชั่วโมงที่ปิดตา หรือจำนวนวันที่ปิดตา เนื่องจากหากหยุดการรักษาทันทีมีผลให้เกิดภาวะตาขี้เกียจซ้ำได้ถึง 1 ใน 4

กรณีตาเขที่มีภาวะตาขี้เกียจ ต้องรักษาภาวะตาขี้เกียจก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขตาเข เนื่องจากการปิดตาอาจทำให้ตาเขดีขึ้นหรือแย่ลงได้ในบางราย หากผ่าตัดตาเขก่อน
ยังไม่ได้รักษาภาวะตาขี้เกียจ เมื่อการมองเห็นไม่ดี ทำให้เกิดตาเขเกิดซ้ำได้